วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลที่นิสิตคิดว่าเป้นประโยชน์ต่อสังคม

19 วิธีกับการประหยัดน้ำมันที่คุณทำได้

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในบ้านเราถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ บรรดาผู้ใช้รถต่างโวยกันว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำอะไรบ้าง เรื่องนี้ ต่างคนต่างความคิด ต่างจิตต่างใจ แม้ว่าราคาน้ำมันจะแพงแสนแพงเท่าไร ก็คงไม่มีใครช่วยอะไรได้เพราะฉะนั้น บรรดาผู้ใช้รถ อย่างเราๆ ท่านๆ ก็คงต้องหาวิธีประหยัดน้ำมันกันไว้หล่ะครับ เพื่อจะได้ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าด้วย
เราจึงมีเคล็ด (ไม่) ลับในการช่วยท่านประหยัดน้ำมันมาฝาก ท่านทราบหรือไม่ว่า การขับรถอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ท่านประหยัด และลดภาระค่าใช้จ่ายในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังจะเป็นการรักษารถยนต์ ให้มีอายุการใช้งาน ที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้นด้วย สำหรับวิธีการใช้รถให้ประหยัดน้ำมันนั้น มีหลักง่ายๆ 19 ข้อ ดังนี้
วิ่งไปอุ่นไป เงินเหลือเก็บ น้ำมันเหลือใช้
ไม่ควรอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกรถ เพราะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันโดยไม่จำเป็น เมื่อออกรถใหม่ๆ ควรขับรถไป ด้วยความเร็วต่ำ ไปสัก 1- 2 กม. จะเป็นการอุ่นเครื่องไปในตัวครับ
กำหนดเป้าหมาย ประหยัดเวลา ประหยัดน้ำมัน
มีจุดหมายในการเดินทางการใช้รถจะต้องมีแผนการเดินทางว่าจะไปถึงที่หมายได้เร็วขึ้น ไม่ใช่ขับไปโดยไร้จุดหมาย
จอดติดเครื่อง ผลาญน้ำมัน เผามลภาวะ
ไม่ควรติดเครื่องยนต์ระหว่างจอดรถในอาคารต่างๆ เพราะการจอดรถที่ติดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน 0.3 ลิตร และเกิดไอเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต่อสภาพแวดล้อมและยังผิดกฎหมายด้วยนะครับ โดนปรับหลายพันบาททีเดียว
ขับนิ่มๆ ประหยัดแน่ๆ
อย่าขับรถเร็ว การขับรถเร็วในการใช้รถทางไกล จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็น ควรขับรถ ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ในอัตราที่เหมาะสม คือ 60-80 กม./ชม. ที่ 1,800 รอบ ท่านจะประหยัดน้ำมันได้ถึง 10-15 เปอร์เซ็นต์ หากขับเร็วขึ้นเป็น 100 กม./ชม. จะเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 6% การควบคุมความเร็วให้สม่ำเสมอเหมือนการคุม เงินไม่ให้ไหลออกจากกระเป๋าท่าน แถมชีวิตก็ปลอดภัยอีกด้วย
ออกกระชาก เบรกกระทืบ ทั้งพัง ทั้งซด
อย่าออกรถเร็ว แบบรถแข่งการออกรถเร็วอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนต่างๆ ก็สึกหรอมากเช่นกัน ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ผ้าเบรค และอุปกรณ์การเบรคต่างๆ สึกหรอ เร็วกว่าปกติ
ยิ่งเบิ้ล ยิ่งซด
เกียร์ว่างแต่กลับเร่งเครื่อง สูญน้ำมันไปฟรีๆ แถมเครื่องยนต์ยังจะพังก่อนกำหนดแน่นอน
เลี้ยงคลัตซ์เมื่อไหร่ ทั้งซด ทั้งเปลือง
การเลี้ยงคลัตซ์ตลอดเวลาของการขับ จะทำให้คลัตซ์สึกหรอเร็ว ทุกครั้งที่ชลอความเร็วไม่จำเป็นต้องเหยียบคลัตซ์ ให้ใช้วิธีผ่อนความเร็วก่อน และจึงค่อยเหยียบคลัตซ์เมื่อรถใกล้หยุด จะช่วยยืดอายุคลัตซ์ให้ยาวนานขึ้น
อย่าพักเท้าที่คลัตซ์ หรือเบรค
ซึ่งจะก่อให้เกิดความสึกหรอโดยไม่จำเป็น และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น
อย่าลืมปลดเบรกมือ
ถ้าในรถยนต์รุ่นเก่า เมื่อปลดเบรกมือรถยนต์ก็วิ่งออกไปได้แต่จะมีความฝืดมากกว่าปกติ ถ้าขับไปเรื่อยๆ จะทำให้เบรกเสียได้ และสิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น แต่ในรถยนต์คู่มือมาตรฐาน สำหรับคนมีรถรุ่นใหม่ (กรังปรีดิ์ เรียบเรียง) ถ้าลืมปลดเบรกมือ รถยนต์จะไม่วิ่งต้องปล่อยเบรกมือเสียก่อนจึงจะวิ่ง อย่าลากเกียร์โดยไม่จำเป็นควรเปลี่ยนเกียร์ ตามจังหวะ และรอบความเร็ว ในการใช้งานนั้น เพราะการลากเกียร์นานๆ จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก กินน้ำมันมากขึ้น
วิ่งเร็วเกียร์สูง วิ่งช้าเกียร์ต่ำ
ไม่ควรขับรถลากเกียร์ต่ำนานๆ เพราะจะทำให้เกียร์ทำงานหนัก กินน้ำมันมาก เกียร์ 1 และ 2 เหมาะกับความเร็วต่ำ เกียร์ 3, 4 และ 5 เหมาะกับความเร็วสูง ควรใช้เกียร์ 1 ในการออกรถทุกครั้ง และควรเข้าเกียร์ให้เหมาะสมกับช่วง ความเร็วของรถ และสภาพของถนนด้วยครับ
คาดการณ์ล่างหน้า ทั้งประหยัด ทั้งป้องกันอุบัติเหตุ
ควรคาดการณ์ล่วงหน้า ขณะขับรถเมื่อใกล้ทางแยกหรือทางม้าลายต่างๆ ควรจะชะลอความเร็วแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่เมื่อใกล้แล้ว จึงค่อยลดความเร็ว ไม่ควรเข้าเกียร์ว่างและเหยียบเบรคเพื่อชลอ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ควรจะแตะเบรคในขณะ ที่เข้าเกียร์อยู่ เมื่อจวนจะหยุดจึงเหยียบคลัตซ์ หรือปลดเกียร์ว่าง
บรรทุกหนักเกิน ซดน้ำมันเพลินแน่
ไม่ควรบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอ เร็วกว่าที่ควรด้วย การบรรทุกของไม่จำเป็น 25 กม. และวิ่งไป 50 กม. จะเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 20 ซีซี
ระวังเรื่องล้อและยาง
ตรวจวัดลมยางอยู่เสมอ ปรับลมยางให้เหมาะสมตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำในคู่มือรถ ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง เพราะถ้าลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้หน้ายางมีความเสียดสีมาก ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากเช่นกัน ถ้าเติมลมยางแข็งเกินไป จะเป็นอันตรายต่อการขับขี่ คือจะทำให้หน้ายางเสียดสีกับพื้นถนนน้อยเกินไปทำให้ไม่เกาะถนนหรืออาจทำให้ยางเกิด ระเบิดได้ หากได้รับการสะเทือนมากเวลาขับบนถนนที่ชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ หากความดันยางต่ำกว่ามาตรฐานทุกๆ 1 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว จะสิ้นเปลืองน้ำมันร้อยละ 2 ควรระวังศูนย์ล้อให้ถูกต้องเสมอ อย่าให้ชนหรือกระทบกระเทือนจนศูนย์ ล้อหน้าเสีย เพราะเป็นผลทำให้ยางสึกหรอผิดปกติ และเพิ่มภาระให้กับเครื่องยนต์ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไป โดยเปล่าประโยชน์
เย็นเกินจ่ายมาก เย็นธรรมชาติจ่ายพอดี
ควรใช้เครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็นการใช้เครื่องปรับอากาศทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น และจะมีความสิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิง 10 เปอร์เซ็นต์ และน้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมดซึ่งอาจหลงเหลืออยู่ในกระบอกสูบจะเป็นตัวการทำให้ เครื่องยนต์ สึกหรออีกด้วย ควรเปิดเครื่องปรับอากาศแต่พอเหมาะ ปรับปุ่มความเย็น และความแรงลมให้สัมพันธ์กัน จะช่วยประหยัด น้ำมันแน่นอน และควรปิดเครื่องปรับอากาศ ก่อนรถจะจอด 500 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร จะช่วยประหยัดได้มากครับ
วางแผนเส้นทางพิชิตรถติด ประหยัดค่าใช้จ่าย
กำหนดการใช้เส้นทางรถยนต์ในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดหนาแน่น หลีกเลี่ยงสภาพถนนที่ไม่ดี เพราะสภาพถนน ที่ไม่ดีทำให้สูญเสียน้ำมันเพิ่มขึ้นดังนี้
- ถนนราดยางที่มีผิวเสียหายร้อยละ 15
- ลูกรังร้อยละ 35
- ทรายแห้งร้อยละ 45
และทุกครั้งที่มีการเดินทางควรศึกษาเส้นทางแผนที่ให้เข้าใจ จะช่วยให้เดินทางถึงที่หมาวยได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และควรจะมีแผนที่ประจำรถด้วย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ล้างให้สะอาด
การล้างฝุ่นและโคลนใต้ท้องรถออกให้หมด นอกจากจะเป็นการช่วยลดน้ำหนัก ยังป้องกันสนิมด้วย
การบำรุงรักษาเครื่องให้อยู่ในสภาพที่ดี
หมั่นตรวจไส้กรองเสมอ ไส้กรองเป็นส่วนสำคัญในการที่จะถ่ายเทอากาศเข้าไปทำปฏิกิริยาภายในเครื่อง ถ้าชำรุด หรืออุดตัน จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักกว่าปกติ และจะสิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น ควรทำความสะอาดไส้กรอง อากาศเป็นประจำ ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเมื่อถึงกำหนด ควรเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ ระยะ 5,000 กม. ควรตรวจสอบรอยรั่วในระบบ น้ำมันเชื้อเพลิงควรบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้ดีตลอดเวลา จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ร้อยละ 3-9 %
อย่าบรรทุกสิ่งของบนหลังคาโดยไม่จำเป็น
เพราะจะเกิดแรงต้านลม ทำให้เครื่องยนต์ต้องทำงานมากกว่าปกติ เป็นการสิ้นเปลืองน้ำมัน
ร่วมด้วยช่วยกัน คาร์พูล (Car Pool) ไปทางเดียวกันไปรถคันเดียวกัน
การเดินทางด้วยระบบคาร์พูล จะทำให้จำนวนรถยนต์ในถนนลดลง การจราจรดีขึ้น ใช้เวลาในการเดินทางลดลง คุณภาพอากาศบนถนนดีขึ้น ที่จอดรถมากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและบำรุงรักษารถยนต์ลดลง